สุนัข ชิสุ เจ้าหมาสิงโตน้อย

  เพราะภาพลักษณ์หมาน้อยตากลมโต  ผูกโบว์ที่หน้าผาก มีขนยาวสวย ดูสง่างาม ขนาดพอเหมาะ พาไปไหนมาไหนได้ไม่ลำบาก แถมยังนิสัยเป็นมิตร ขี้เล่น และช่างประจบ เลยทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยหลงใหลได้ปลื้มเจ้าสุนัขพันธุ์ "ชิสุ" และเลี้ยงเป็นสมาชิกสี่ขาประจำครอบครัวกันอย่างแพร่หลาย แต่รู้ไหมว่าประวัติความเป็นมาของ สุนัข ชิสุ น่ะ เป็น ถึง 1 ใน 3 สุนัข ชั้นสูงจากจักรพรรดิจีนเชียวนะ
           ทั้งนี้ บรรพบุรุษของ สุนัข ชิสุห์ นั้น มีการคาดเดาว่ามีต้นกำเนิดจากทิเบต เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของชาวทิเบตถือว่าสิงโตเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนา พระชาวทิเบต (Lama) จึงได้ผสม สุนัข พันธุ์เล็กขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิงโต ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าลักษณะขนแผงคอของ ชิสุ จะเหมือนกับสิงโต อีกทั้งท่าทางการเดินหรือการเคลื่อนไหวก็แลดูสง่างาม และชื่อ "ชิสุ" (Shih Tzu) ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน ก็แปลว่า สิงโต ด้วย

           ต่อมาทิเบตได้ส่ง สุนัข ชิสุ มาเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายของจีน  ซึ่งพระนางซูสีไทเฮา ทรงโปรดการเลี้ยง สุนัข มาก โดยมี สุนัข พันธุ์ปักกิ่ง ปั๊ก และชิสุ ที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากพระองค์ ชนิดหรูหราและฟุ่มเฟือย ในอดีตจึงเป็นที่รู้กันดีว่า ชิสุ เป็น สุนัข ที่มีชนชั้น  นิยมเลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนักของและนับเป็นสิ่งสูงค่าสำหรับสามัญชน 
           ในปี ค.ศ.1908  เมื่อพระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ สุนัข ชิสุ ทรงเลี้ยงในพระราชวังก็กระจัดกระจายหายไป แต่ก็มี ชิสุ บางส่วนที่ถูกลักลอบนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ ทำให้ ชิสุ ขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษ และทั่วยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันถึงปัจจุบัน  เนื่องจาก ชิสุ เป็น สุนัข พันธุ์เล็ก อีกทั้งมีของลักษณะขนและหน้าตา ที่จะสร้างความเพลิดเพลินในการเลี้ยงดูของเจ้าของที่ชอบแต่งตัวให้ สุนัข แต่คงไม่เหมาะนักสำหรับเจ้าของที่ไม่มีเวลา

 ลักษณะทั่วไปของ สุนัข ชิสุ
           ชิสุ เป็น สุนัข ขนาดเล็กในกลุ่มทอย (Toy Group) มีน้ำหนักประมาณ 4.5 - 7.5 กิโลกรัม (หรือราว 10 - 16 ปอนด์) ส่วนสูงประมาณ 25 - 27 ซม. (หรือราว 10 - 11 นิ้ว) ทั้งนี้ ชิสุ มีลักษณะนิสัย กล้าหาญ มีความตื่นตัว ขี้ประจบ มีความสง่าอยู่ในตัว เดินหน้าเชิด การย่างก้าวสง่าผ่าเผย นอกจากนี้ ชิสุ ยังรักความสะอาด เป็นมิตรกับทุกคน ปรับตัวได้ดี และชอบที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าของในทุกเรื่อง แล้วก็ไม่ชอบถูกทิ้งไว้ในบ้าน

           ข้อบกพร่องของสายพันธุ์ ชิสุ
           ข้อบกพร่องของ ชิสุห์ ที่จัดว่าร้ายแรงตามมาตรฐานของ AKC : American Kennel Club (สมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา) ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีดังนี้

            - ศีรษะแคบเกินไป
            - ฟันบนเกยฟันล่าง
            - ขนสั้น หรือขนที่ได้รับการขลิบให้สั้น
            - จมูกหรือหนังบริเวณขอบตาสีชมพู
            - ดวงตามีขนาดเล็กหรือมีสีจาง
            - ขนบาง ไม่ดกหนา
            - มุมหักตรงช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูกและหน้าไม่เด่นชัด

 อาหารและการเลี้ยงดู สุนัข ชิสุ

           ชิสุห์ มีอายุค่อนข้างยืนยาว คือประมาณ 10-18 ปี ตามแต่ปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร และการเลี้ยงดู โรคที่มักเกิดขึ้นกับ ชิสุ คือโรคตาแห้ง โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ โดยเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาและหูของ ชิสุ อย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของมันโดยเฉพาะ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับ ชิสุ ได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต และไส้เลื่อน

           ปกติ ชิสุห์ จะเป็นมิตรกับคน นิ่งและดูสงบ ดูจะเป็น สุนัข อารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่า ชิสุ จะไม่เชื่อฟังเราถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง อย่างไรก็ตาม ชิสุ ก็ชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออก ไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง

           นอกจากนี้ ขนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความสวยงามของ ชิสุ โดยเฉพาะ ชิสุห์ เป็น สุนัข ขนยาว ที่จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีขนเส้นเล็กและพันกันได้ง่าย หากไม่รู้จักวิธีการรักษาขนให้ดี ขนของ ชิสุ จะพันกันและมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังได้ง่ายๆ 
           ทั้งนี้ การแปรงขนอย่างสม่ำเสมอทุกวันจะช่วยให้ผิวหนังและขนสะอาดของ ชิสุ เป็นเงางาม เพราะมีการนวดให้ต่อมน้ำมันที่โคนขนขับน้ำมันออกมาเคลือบเส้นผมได้มากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพสมบูรณ์ และยังเป็นการช่วยขจัดรังแคและสิ่งสกปรกอื่นออกจากผิวหนังของ ชิสุ ด้วย

           อาหารที่เหมาะกับเจ้า ชิสุ สุดสวย ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะ สุนัข มีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะหนวดเครา เหม็นคาว ทำให้ต้องทำความสะอาดกันทุกครั้งไป และหากล้างออกไม่หมดก็จะกลายเป็นที่สะสมของเชื้อโรค อีกทั้งถ้าให้อาหารกระป๋องต้องใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อสุขภาพของ  ชิสุ ของคุณได้
           ดังนั้น ทางเลือกที่เหมาะที่สุดเห็นจะเป็นอาหารเม็ด ทั้งนี้ การเลือกซื้อควรเลือกประเภทสำหรับ สุนัข พันธุ์เล็ก  โดยเลือกดูให้เหมาะกับช่วงวัยของ ชิสุ ด้วย เช่น ถ้าเป็นอาหารลูก สุนัข ข้างถุงจะพิมพ์ไว้ว่า Puppy มีโปรตีนมากกว่า เม็ดจะเล็กกว่า และจะแพงกว่าอาหาร สุนัข โตนิดหน่อย

           อย่างไรก็ตาม อาหารปรุงเองก็สามารถให้ ชิสุ ได้ แต่ควรดูความเหมาะสมของสารอาหารที่ให้ และการสร้างอุปนิสัยที่ดี  เพราะหากให้กินพร่ำเพรื่อ สุดท้ายเจ้า ชิสุ ตัวโปรดของคุณก็จะติดนิสัยขออาหารที่ครั้งที่เห็นคนกิน ดังนั้นต้องใจแข็งไว้นะคะ ควรให้อาหารเป็นเวลาจะดีกว่า แล้ว ชิสุห์ ของคุณไม่มีปัญาหาสุขภาพตามมาด้วย

 โรคและวิธีการป้องกัน

            โรคตาแห้ง เป็นโรคที่มักเกิดกับ สุนัข ชิสุห์ เพราะมีดวงตากลมโต ลูกตาเปิดกว้าง ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุกับดวงตาด้วย ทั้งนี้ อาการของโรคตาแห้ง คือน้ำตาน้อย ก็ต้องรักษาด้วยการหยอดตาต่อเนื่อง อาจจะนานๆ ครั้ง หรือไม่ก็ตลอดชีวิต สำหรับการดูแลรักษา อย่างแรกเลยผู้เลี้ยง ควรเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะ และเมื่อเห็นความผิดปกติของลูกตาให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะ ถ้าทิ้งไว้นาน อาจทำให้ติดเชื้อ แก้วตาละลาย ถึงขั้นตาบอดได้ อีกอย่างถ้าพามาตั้งแต่แรกเริ่มก็จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่สูงมากนัก

           โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอกที่เรียกว่า "otitis externa" เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการของ สุนัข ชิสุ ที่ป่วยหูอักเสบ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็น ชอบเกาหู หรือเอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ ช่องหู หรือใบหูมีสีแดง หรือบวม ในบางตัวอาจมีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู ฯลฯ

           สำหรับวิธีการป้องการที่ดีที่สุด คือการรักษาความสะอาด ควรตรวจสอบช่องหูของ สุนัข ชิสุห์ ทุกสัปดาห์ สุนัข บางตัวมีขี้หูน้อย บางตัวก็มีมาก แตกต่างกันไป ควรใช้สำลีหรือผ้านิ่มๆ เช็ดบริเวณรูหูส่วนนอก และใบหูเป็นประจำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ถ้าพบว่า สุนัข ของคุณสะบัดหู หรือเกาหูบ่อย ก็ให้นำไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจมีแมลงเข้าหูหรืออาจเกิดโรคหูอักเสบขึ้น

           นอกจากนี้ ชิสุห์ ยังมีโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคผิวหนัง และไส้เลื่อน ทางที่ดีผู้เลี้ยงควรฉีดวัคซีนให้ สุนัข ตามกำหนดให้ครบ และใส่ใจเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย และหากผิดความผิดปกติใดๆ ก็ตามควรรีบพา สุนัข แสนรักไปพบแพทย์เพื่อได้รรับการวินัจฉัยและการรักษาที่ตรงจุดต่อไป

มาตรฐานสายพันธ์สุนัข SHIHTZU ( ชิห์สุ )


ชิห์สุ เป็นสุนัขที่มีรูปร่างแข็งแรง มั่นคง มีชีวิตชีวา ตื่นตัวอยู่เสมอ ชิห์สุมีความสง่างาม องอาจ ทรนง ด้วยส่วนหัวและลำคอที่เชิดสูง หางตั้ง งอปรกลงเหนือแผ่นหลัง กระชับ สมส่วน มีความสมดุลย์ในร่างกายที่มั่นคงลงตัว ความสูงจากพื้นถึงไหล่ ระหว่าง 9 - 10.5 นิ้ว แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว หรือสูงเกิน 11 นิ้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่อยู่ระหว่าง 9 - 16 ปอนด์ ความยาวของลำตัวจะมากกว่าความสูงเล็กน้อย กลม, มีความกว้างระหว่างตาทั้งสองข้าง ขนาดของหัวเหมาะสมกับลำตัวโดยรวม ไม่เล็กเกินไป ข้อบกพร่อง คือส่วนหัวที่เล็กแหลม ตาทั้งสองข้างชิดกันเกินไป มีขนาดกลม ใหญ่ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มองตรงไปข้างหน้า ดวงตาจะต้องรู้สึก อบอุ่น เป็นมิตร อ่อนโยน และแลดูสัตย์ซื่อ สีของดวงตา จะต้องดำสนิท ยกเว้น สีตับ ในสุนัขที่มีขนสีตับ และ สีอ่อน ในสุนัขที่มีสีอ่อน ข้อบกพร่องของดวงตาคือ ตาเล็ก ชิดกันเกินไป หรือมีตาขาวมากมองเห็นได้ชัด มีขนาดใหญ่ ห้อยปรกลง มีขนแน่น ยาว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม สั้น ไม่มีรอยยับย่น ตั้งอยู่ไม่ต่ำกว่าขอบตาด้านล่าง ความยาวประมาณ 1 นิ้ว ไม่มากกว่านั้น รูจมูกกว้าง ไม่มีน้ำมูกเหนียวเกรอะกรัง จมูก ริมฝีปาก และขอบตา ต้องมีสีดำสนิท ยกเว้น สีตับ ในสุนัขที่มีสีตับ ข้อบกพร่องร้ายแรงคือ มีสีด่างขาวที่จมูก ฟันล่าง ขบฟันบนเล็กน้อย ฟันขบเสมอกัน ยอมรับได้ เวลาหุบปากต้องไม่เห็นฟัน ข้อบกพร่องร้างแรงคือ ฟันบนขบยาวกว่าฟันล่าง (over shot )คอ
อก

หาง
ขน
สี
หลัง ไหล่ สมดุลย์กับหัวและร่างกาย เส้นหลังตรง ไหล่ตั้งตรง เดินสมดุลย์ ข้อบกพร่องคือ มองโดยรวมแล้ว ขายาวเกินไป กว้าง ลึก มีความยืดหยุ่นของช่องอก ไม่มีลักษณะอกแหลม ตั้ง ปลายห้อยปรกลงบนลำตัว มีขนแน่น หางที่มีขนบาง เรียวผอม ตั้งอยู่บนตำแหน่งที่ต่ำเกินไป ไม่เป็นที่ยอมรับ ยาว สลวย เป็นเงา ขนหนาแน่นมีสองชั้น ขนหยักศกเล็กน้อยเป็นที่ยอมรับได้ ข้อบกพร่อง ขนบาง ขนชั้นเดียว ขนหยิก ได้ทุกสีมาร์คกิ้ง
ท่วงท่า
อารมณ์
บริเวณตา มีความสมดุลย์ เดินตรง เป็นจังหวะ สง่างาม หัวเชิด หางตั้ง ห้อยปรกแผ่นหลัง ร่าเริงมีความสุข กระตือรือล้น อยากรูอยากเห็น เป็นมิตร
คอ
ขนาด
หัว
ตา
หู
จมูก
ฟัน

วิธีการเลี้ยงดูสุนัขพันธุ์ ชิสุห์

หมาท้อง
อาหารที่เลี้ยงหมาที่กำลังตั้งท้องนั้นจะต้องมีคุณภาพสูง โปรตีนมาก ไขมันน้อย ขนาดและปริมาณที่ให้ในระยะ 6 อาทิตย์แรกของการตั้งท้องพอ ๆ กับใช้เลี้ยงดูหมาใหญ่ หรือหมาโตเต็มวัย ในประจำวัน แต่เราจะเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นตามน้ำหนักตัวหมาในระยะ 3 อาทิตย์สุดท้ายก่อนคลอดคือ เพิ่มอาหารให้ปริมาณ 15-20 % ของน้ำหนักตัวแม่หมา
ก่อนคลอด 1 – 2 วัน แม่หมาบางตัวมักไม่ค่อยกินอาหารหรือไม่กินเลย เพราะมัวแต่หาสถานที่คลอดลูก โดยเฉพาะแม่หมาสาวท้องแรก ฉะนั้นอย่าตกใจจนเกินไป หลังคลอดแล้วก็จะกินอาหารเอง ข้อพึงระวัง อย่าขุนมหาจนอ้วนเกินไปจนไม่มีแรงในการเบ่งคลอดลูก
หมาแม่ลูกอ่อน
อาหารที่ใช้เลี้ยงหมาแม่ลูกอ่อนไม่ได้มีให้เฉพาะแม่หมาเท่านั้น มันต้องถ่ายทอดไปยังลูกหมาด้วย โดยการเปลี่ยนเป็นนม ฉะนั้นปริมาณอาหารที่แม่หมาจะกินต้องเพิ่มขึ้นโดยอาทิตย์แรกเพิ่มเท่าครึ่ง จากปกติ อาทิตย์ที่ 2 เป็น 2เท่า และอาทิตย์ที่ 3 เป็น 3 เท่า
สิ่งที่ต้องเสริมเพิ่มเติมแก่แม่หมาได้แก่ แร่ธาตุ คือ แคลเซียม และฟอสฟอรัส เพราะสิ่งเหล่านี้จะถูกแตกออกไปนมแม่สู่ลูก ๆ ของมันในขณะเดียวกัน แม่หมาจึงมีปริมาณแคลเซียมที่ลดลงด้วย จนถึงระดับที่เกิดขาดแร่ธาตุที่เราเรียกว่า ภาวะแคลเซียมต่ำ แม่หมาแสดงอาการชัก เกร็ง น้ำลายไหลยืด ตัวร้อนจัด ฝรั่งเรียกว่า Milk Fever หรือไข้น้ำนม เมื่อเจ้าของพาไปหาหมอ หมอจึงฉีดแคลเซียมให้ อาการจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้โดยการเพิ่มเติมแคลเซียมลงไปในอาหารแม่ลูก อ่อนตามคำแนะนำของหมอ พร้อมกับให้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ คือ นม ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ดี
การเลี้ยงดูสุนัขขณะที่เป็นลูกสุนัข
ลูกหมาไทยที่จะนำมาเลี้ยงนั้นควรมีอายุ 2 เดือน หรือหย่านมแล้ว หรือถ้าโตกว่านี้ก็จะยิ่งเลี้ยงง่ายขึ้น เมื่อนำสุนัขเข้ามาอยู่ที่แห่งใหม่วันแรก ถ้าบ้านเลี้ยงสุนัขอยู่แล้วก็ควรให้สุนัขได้รู้จักกับสุนัขที่มีอยู่เดิมและ ให้สุนัขรู้จักสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากที่เดิม เพื่อให้คุ้นเคยกับที่อยู่ใหม่ เพราะนิสัยสุนัขจะอยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาก จึงควรปล่อยให้สุนัขเดินสำรวจสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ตามลำพัง จะทำให้มันรู้สึกว่า สถานที่ใหม่เป็นสถานที่ที่อบอุ่นปลอดภัย ไม่น่ากลัวใด ๆ แต่สำหรับลุกสุนัขเล็ก ๆ บางตัวเมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ จะมีปัญหาบ้าง เช่นมันจะหอนเพราะคิดถึงแม่และพี่น้องที่เคยเล่นกันมา เมื่อหิวก็หอน อาจทำให้รำคาญ เพราะหนวกหู วิธีการแก้ปัญหาลูกสุนัขหอน อาจนำสิ่งของที่ปูนอนในรังเก่าของลูกสุนัขมารองให้นอนในที่อยู่ใหม่ด้วย เพราะลูกสุนัขจะจำกลิ่นได้ และเข้าใจว่ายังอยู่ที่เดิม หรืออาจเลี้ยงสุนัข 2 ตัวอยู่ด้วยกัน เมื่อมีเพื่อนเล่นมันจะไม่เหงาและไม่ค่อยหอน
โดยทั่วไปลูกสุนัขตอนเล็ก ๆ นิสัยเหมือนเด็ก จะชอบนอน ตื่นขึ้นมารู้สึก หิวก็ร้อง อิ่มก็นอน แล้วก็เล่น เมื่อโตขึ้นก็จะนอนน้อยลง ชอบตื่นขึ้นมากินและเล่นมากขึ้น จากนั้นก็จะคุ้นเคยกับความเป็นอยู่และสถานที่ใหม่
ลูกสุนัขเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน ก็เริ่มถ่ายขนขนจะหยาบกว่าเดิม ฟันน้ำนมก็จะเปลี่ยนเป็นฟันแท้ มีเขี้ยวขึ้นทั้ง 4 เขี้ยว ทำให้คันปาก จึงชอบแทะสิ่งต่าง ๆ ในบ้าน ถ้าสุนัขกัดสิ่งของในบ้านควรทำโทษเพื่อให้เข็ดหลาบไม่ติดเป็นนิสัยควรหาของ เล่น เช่น ลูกบอลเล็ก ๆ กัดแทะแทน ลุกสุนัขอายุ 4-6 เดือนจะชอบเล่นแทะ และซุกวนมาก กินอาหารเก่งอยากรู้อยากเห็นพออายุ 7-8 เดือน ก็จะเริ่มเข้าสู่วันหนุ่มสาว ถ้าเป็นตัวเมียก็จะเริ่มเป็นสัด ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าให้ผสมพันธุ์กันในวัยนี้ อาจทำให้มันเสีย ถ้าจะให้ผสมพันธุ์ควรผลสมเมื่อมีอายุประมาณ 12-18 เดือนจะเหมาะสมมากกว่า
หมาโต
ในวัยนี้เราสามารถให้อาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดได้แล้วซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่นิยมมี 2 แบบ คือ
อาหารแห้ง ส่วนใหญ่จะมีความชื้นต่ำมากคือ ไม่เกิน 10 % มักอัดอยู่ในรูปเม็ดทรงต่าง ๆ กัน ทำมาจากวัตถุดิบ คือ เนื้อวัว ม้า ไก่ หรือปลาป่น ฯลฯ บรรจุกล่องกระดาษ
อาหารเปียก มีความชื้นสูงประมาณ 65-70 % ทำมาจากเนื้อวัว เนื้อม้า และเนื้อปลา ยังคงมีรูปร่างเป็นก้อนเนื้อให้เห็น บรรจุกระป๋อง จะน่ากินกว่าแบบแห้ง
ทั้งสอแบบสามารถเทใส่ภาชนะให้สุนัขกินได้ทันที แต่หมาจะกินหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่งเพราะหมาบางตัวไม่ยอมรับอาหารเหล่านี้ จะเป็นเพราะกลิ่นหรือรสหรือความแข็งกระด้างก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดให้กินก่อน โดยการหลอกล่อด้วยเล่ห์กล กล่าวคืออาจผสมอาหารสำเร็จรูปจำนวนเล็กน้อยลงในอาหารสำเร็จขึ้นไปทีละน้อย ทำบ่อย ๆ จนในที่สุดหมาตัวนั้น สามารถกินอาหารสำเร็จรูปล้วน ๆ ผู้เลี้ยงบางคนอาจว่าวิธีนี้ไม่ทันใจ ใช้วิธีเผด็จการ กินก็กิน ไม่กินก็อด จะอดได้ไม่นาน สุดท้ายก็ยอมกิน แต่ควรระวังจะเจอตัวที่ยอมอดเป็นอดตายเข้าจริง ๆ
หมาสูงอายุ
หมาสูงอายุจะมีร่างกายที่เริ่มเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้นการให้อาหารจึงควรที่จะให้ตามความเหมาะสมของวัยของสุนัข ซึ่งควรมีลักษณะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่นเนื้อที่ไม่มีพังพืด อาหารที่มีไขมันน้อย อาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อที่จะได้ไปเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ ปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรมากเกินไปเนื่องจาก หมาวัยนี้จะไม่กระฉับกระเฉง การวิ่งออกกำลังกายก็น้อยลงตามอายุ ฉะนั้นอาหารที่กินเข้าไปมาก ๆ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังก่อให้เกิดโทษ เช่น ท้องอืด แน่นเฟ้อ

อนึ่ง หมาที่แก่มาก ๆ อัตราการกินอาหารย่อมต่ำลงเป็นธรรมดา บางครั้งอาจกินวันละเพียงเล็กน้อย หรือกินบ้างไม่กินบ้างเจ้าของอาจให้อาหารเสริมเช่น อาหารสำเร็จรูป น้ำซุปและวิตามินต่าง ๆ เป็นการช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและความแข็งแรงของร่างกายอีกทางหนึ่ง