ดูแลลูกสัตว์ทั้งในครรภ์และหลังคลอด

หากจะบอกว่าการดูแลลูกสัตว์ต้องเริ่มตั้งแต่ยังอยู่ในท้องก็คงไม่ผิดนัก เนื่องจากลูกสัตว์ต้องการสารอาหารที่ถ่ายทอดมาจากของแม่โดยตรง ซึ่งจะดีหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการเลือกอาหารรวมถึงวิธีการให้อาหารของผู้เลี้ยงเอง
        จวบจนถึงวันที่ลูกสุนัขและแมวได้ออกมาสูดอากาศ ลูกสุนัขและแมวก็เริ่มต้องการสารอาหารจากแม่ ก็คือน้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงนั่นเอง สารอาหารและภูมิคุ้มกันต่างๆ ที่อยู่ในน้ำนม (โดยเฉพาะนมน้ำเหลือง) ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารที่เราได้ให้เค้าตลอดช่วงตั้งท้องจนถึงช่วงให้นม ดังนั้นเราต้องให้อาหารที่มีพลังงาน โปรตีน วิตามิน แคลเซียม หรือแม้แต่ DHA  แก่แม่สัตว์อย่างเพียงพอ สารอาหารที่ยกตัวอย่างมานี้ล้วนมีความสำคัญตลอดช่วงตั้งท้องและให้นม ทั้งในด้านความแข็งแรง การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกๆ โดยสามารถให้อาหารสูตรลูกสุนัขที่ย่อยและดูดซึมง่าย มีโปรตีนและแคลเซียมสูง รวมถึง DHA ที่ผ่านทางน้ำนมได้

 หลังจากลูกสัตว์อายุได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์ก็ควรเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกสุนัข โดยในช่วงแรกอาจให้อาหารปริมาณเล็กน้อยผสมลงในนมเพื่อปรับสภาวะของทางเดินอาหาร แล้วจึงค่อยๆ ลดการให้นมในที่สุด ซึ่งเจ้าของควรฝึกให้ลูกสุนัขชินกับอาหารเม็ดจะดีที่สุด เนื่องจากเป็นอาหารที่สะดวกในการให้และยังมีราคาถูกกว่าการให้อาหารชนิดกระป๋องที่มักมีราคาสูงและมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก อาหารกระป๋องจึงเหมาะสำหรับให้ในกรณีที่หัดให้สัตว์กินอาหารเม็ดโดยการคลุกผสมกับอาหารเม็ดเป็นต้น
 เมื่อลูกสัตว์มีอายุมากขึ้น เจ้าของควรลดมื้ออาหารลงโดยลูกสุนัขอาจลดมื้ออาหารลงเหลือ 1-2 มื้อ ในช่วงอายุ 9-12 เดือน และลูกแมวลดลงเหลือ 2-3 มื้อ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้อาหารเป็นเวลา เพราะจะช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติและยังขับถ่ายเป็นเวลาอีกด้วย ในกรณีที่แม่บางตัวไม่ค่อยดูแลลูก เจ้าของอาจต้องช่วยทั้งการให้นม เช็คตัวรวมถึงการกระตุ้น การขับถ่าย หากพบว่าลูกสัตว์ไม่ถ่ายหรือเราอยากหัดให้เค้าถ่ายเป็นที่เป็นทาง เราสามารถพาเค้าไปยังบริเวณที่จัดไว้ให้ แล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดกระตุ้นบริเวณก้น ซึ่งจะเหมือนกับการกระตุ้นจากแม่ของเค้านั่นเอง ข้อควรจำในการดูแลลูกสัตว์ 

มอลทีส

ช่างเอาอกเอาใจ กระตือรือร้น และร่าเริง
มอลทีส หรือ มัลทีส เป็นสุนัขที่มีนิสัยร่าเริงแจ่มใส เรียบร้อย และเชื่อฟังคำสั่ง สุภาพอ่อนโยน มีความเป็นมิตรกับคนทั่วไปชอบที่จะให้อุ้มหรือกอดอยู่เสมอ ในบางครั้งอาจจะเกรี้ยวกราดบ้างกับสุนัขด้วยกัน มอลทีสเป็นสุนัขที่มีนิสัยอิจฉาชอบประจบเจ้าของ รักเจ้าของมาก ชอบปกป้องเจ้านายหรืออาณาเขตของมันเองออดอ้อนออเซาะ ไม่เป็นรองใครมีความฉลาดแสนรู้ แต่จิตใจกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวไม่ยอมใครดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมไว้กับสุนัขตัวโตๆ เพราะจะมีโอกาสรอดไม่ถึงแก่ตาย โดยปกติแล้วไม่ควรทิ้งให้อยู่ตามลำพังเป็นเวลานานๆ มอลทีส ไม่ใช่สุนัขที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน แม้ว่าจริงๆแล้ว เขาก็เฝ้าบ้านได้ดีและก็สามารถฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ดีเช่นกัน มอลทีส เป็นสุนัขที่มีความรักให้กับคุณอย่างมากมาย ทำให้คุณชื่นใจทุกครั้งด้วยการคอยต้อนรับคุณที่ประตูเป็นสุนัขที่ฉลาดและชอบให้เอาใจ

สุนัขมอลทีสมีถิ่นกำเนิดในประเทศ MALTA (แถบทะเลเมอร์ดิเตอริเนียน) มานานเกือบ 2800 ปีแล้ว นักเขียนหรือนักวาดภาพในสมัยโบราณมักนิยมเขียนเรื่องราวหรือภาพของสุนัขพันธุ์นี้ และเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้คนสมัยนั้น และจนกษัตริย์อียิปต์โบราณและ QUEEN VICTORIA ด้วย MALTESE เป็นสุนัขที่มีขนมีขาวสะอาดมีสุขภาพดี คล้ายสุนัขใหญ่กลุ่ม SPANIEL ในปี ค.ศ. 1607 มีการซื้อขายพันธุ์ MALTESE ตัวหนึ่งสูงถึง 2000 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 50000 บาท

มอลทีส จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ถึงแม้มอลทีสจะเพลิดเพลินกับการวิ่งเล่นในสวนหลังบ้าน แต่พวกเขาชอบอยู่ในบ้านซึ่งจะได้ใกล้ชิดกับเรามากกว่า แต่ถ้าเลี้ยงเขาในแฟล็ตหรือคอนโด ก็ควรจะจูง เขาไปเดินเล่นข้างนอกบ้าง มอลทีส เป็นสุนัขประกวดที่สวยงาม แต่ถ้าเลี้ยงไว้ เป็นเพื่อน ก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยขนไว้ให้ยาวเต็มที่ เพียงแค่คอยเล็มแต่งขนเขาเพื่อให้ดูแลรักษาง่ายๆ แต่เราต้องแปรงขนเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ขนพันกัน อาบน้ำให้น้องมอลทีสซักสัปดาห์ละครั้ง พร้อมทั้งเป่าขนให้แห้ง เสมอ

อุปกรณ์สำคัญสำหรับสุนัขพันธุ์มอลทีสนี้ได้แก่ แปรงสำหรับแปรงขนดีๆ หวีซี่เล็ก กรรไกรสำหรับ แต่งขนบริเวณใต้ฝ่าเท้า รวมทั้งกรรไกร ตัดเล็บสุนัข และกรดบอริคเพื่อเช็ดรอยคราบน้ำตา และควรปล่อยให้หน้าที่การดูแลเรื่องขนของมอลทีส เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ สุนัขอาจจู้จี้เรื่องกินบ้าง ดังนั้นถ้าคุณไม่ต้องการมีปัญหาในภายหลัง ควรเริ่มต้นอย่างถูกต้องโดย ปรึกษาผู้เพาะพันธุ์ว่าสุนัขตัวนั้นชอบหรือไม่ชอบ อาหารประเภทไหน

ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในรูปแบบปลอกคอ

ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในรูปแบบปลอกคอ  ได้มีความพยายามปรับหาวิธีเพื่อให้ผู้ใช้มีความสะดวกมากขึ้น จากเดิมที่ใช้วิธีอาบ จุ่ม หรือชโลม หากท่านใดมีสัตว์เลี้ยงหลายๆ ตัววิธีที่กล่าวมาย่อมเหนื่อยและยุ่งยาก และโดยปรกติที่สุนัขและแมวต้องใส่ปลอกคออยู่แล้ว จึงมีการประดิษฐ์ปลอกคอที่มีสารฆ่าแมลงเพื่อกำจัดเห็บหมัดด้วย  สารต่างๆ มีคุณสมบัติและความปลอดภัยแตกต่างกัน ในการเลือกใช้ให้เลือกแบบที่ตรงต่อความต้องการและเหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง เช่น ปลอกคอสำหรับแมว หรือปลอกคอสำหรับสุนัข ทีนี้มาดูกันว่ามีสารใดเป็นส่วนประกอบในการออกฤทธิ์กำจัดเห็บหมัดบ้าง
ปลอกคอที่มีสารอะมิทราส เป็นสารออกฤทธิ์ให้ผลกำจัดเห็บหมัด  สารอะมิทราส (Amitraz) เป็นสารฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์รบกวนการส่งสัญญาณประสาทส่วนกลางของแมลง เป็นสารฆ่าแมลงที่ถูกนำมาใช้ในวงการสัตวแพทย์โดยเฉพาะในสัตว์ปศุสัตว์  รูปแบบการใช้  มีทั้งแบบผสมกับน้ำ และเป็นปลอกคอที่บรรจุสารเคมีออกฤทธิ์  ขั้นตอนการใช้  สารตัวนี้ใช้ในรูปการผสมน้ำ ใช้อาบ หรือจุ่มในสัตว์เลี้ยงได้เช่นกัน เพราะมีสรรพคุณในการฆ่าทำลายตัวไรขี้เรื้อนเปียกในรูขุมขน และยังสามารถฆ่าเห็บได้  สำหรับในรูปแบบของปลอกคอสำหรับสัตว์เลี้ยงนั้น ตัวสารเคมีจะค่อยๆ ซึมและกระจายตัวออกมาจากปลอกคอ คำเตือน  สารตัวนี้มีฤทธิ์ยับยั้งสารโมโนเอมีน ออกซิเดส  ฉะนั้นเจ้าของสัตว์และผู้ใช้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานต้องระวังในการสัมผัสปลอกคอนี้ เพราะอย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าสารที่ออกฤทธิ์มีสรรพคุณในการยับยั้งสารโมโนเอมีน ออกซิเดสในร่างกาย มันย่อมส่งผลให้เกิดการยับยั้งการหลั่งของอินซูลินในกระแสเลือดด้วย เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงกว่าปรกติ  ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องสวมถุงมือทุกครั้งก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้
          
นอกจากนี้ผู้ป่วยด้วยโรคที่ต้องกินยารักษาโรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน โรคไมเกรน ต้องระวังการจับต้องสัมผัสสารตัวนี้เช่นกัน  เพราะถ้าท่านกำลังกินยารักษาโรคดังกล่าวแล้วไปรับสัมผัสสารเคมีนี้เข้าไปในร่างกาย จะส่งผลให้เกิดส่งผลเสริมฤทธิ์กัน เนื่องจากยาดังกล่าวมีสรรพคุณยับยั้งสารโมโนเอมีน ออกซิเดส เช่นกัน
การใช้กับสุนัขโดยเฉพาะในตัวที่ป่วยเป็นเบาหวาน หรือกำลังให้ยารักษาโรคซึมเศร้า พึงหลีกเลี่ยงการใส่ปลอกคอที่มีสารตัวนี้  และขณะที่กำลังสวมปลอกคอให้สุนัขต้องระวังอย่าให้เค้าเลียหรือกินเข้าไป ยิ่งในรายที่มีสุนัขหลายๆ ตัว และใส่ปลอกคอให้พร้อมๆ กัน พึงระวังให้มากเพราะสุนัขมักชอบทำพฤติกรรมดังนี้ คือ กัดหรือแทะปลอกคอของสุนัขอีกตัว และไม่ควรใส่ให้สุนัขตัวที่ตั้งท้องและเลี้ยงลูก  การสวมปลอกคอไม่ควรสวมให้แน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้  ควรสวมให้หลวมสักเล็กน้อย
ปลอกคอที่มีเตตราคลอร์วินพอส ผสมเมโทรพรีน  ตัวแรกสารออกฤทธิ์ที่ฆ่าทำลายเห็บหมัด เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มออร์แกน โนฟอสเฟต และอีกตัวคือ เมโทรพรีนเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง สารเคมีสองตัวนี้อาจมีใส่ในปลอกคอเพียงตัวเดียว คือ เตตราคลอร์วินฟอส หรือใส่ทั้งสองชนิดในปลอกคออันเดียวกัน  ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากตัวเตตราคลอร์วินฟอสนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าทำลายหมัดเห็บได้เลย เพราะสารในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตจะทำให้เกิดการยับยั้งสารอะเซทติลคลอลีนเอสเตอร์เรส  เมื่อไม่มีสารดังกล่าวที่ปลายประสาทจะทำให้เกิดการกระตุ้นกล้ามเนื้อต่อเนื่อง ไม่ได้พักจนทำให้เกิดอาการเป็นอัมพาต และแมลงตายในที่สุด  ส่วนสารเมโทรพรีนตามที่กล่าวไว้ ว่าไม่ได้ออกฤทธิ์ฆ่าแมลงโดยตรงแต่มันมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายของแมลง เพราะสารดังกล่าวทำให้เกิดการรบกวนการพัฒนาจากไข่เป็นตัวอ่อนและจากตัวดักแด้เป็นตัวเต็มวัย เพราะฉะนั้นสารเตตราคลอวินฟอสจะออกฤทธิ์ฆ่าแมลงตัวแก่ได้ทั้งเห็บและหมัด ในขณะที่ เมโทรพรีนจะออกฤทธิ์ทำลายไข่และตัวดักแด้ของหมัดได้ดี ขั้นตอนการใช้   ต้องเลือกดูว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ระบุว่าใช้ได้กับสุนัขหรือแมว เพราะบางยี่ห้อมีแบบที่ใช้แมว บางยี่ห้อใช้ได้ทั้งสุนัขและแมว  พิจารณาดูให้ดี  ตามปรกติจะมีคำแนะนำการใช้ระบุไว้หลังกล่องของผลิตภัณฑ์
เรื่องของอายุสัตว์ที่อนุญาตให้ใช้ คือ มีอายุมากกว่า 6-12  สัปดาห์ขึ้นไป เป็นเรื่องซึ่งผู้ใช้ต้องอ่านให้ละเอียดและเลือกใช้ให้ตรงตามคำแนะนำซึ่งได้ระบุไว้  นอกจากนี้ไม่ควรใส่ให้แม่หมาตั้งท้องและตัวที่ให้นมลูก เวลาสวมปลอกคออย่ารัดแน่นจนเกินไปนัก  ให้สวมให้หลวมสักนิดครับ
ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในรูปแบบพ่นลงไปบนตัวสัตว์  ถือว่าเป็นอีกพัฒนาการหนึ่งของผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดเช่นกันครับ  เพราะเทคนิคการพ่นสามารถทำได้ง่ายใช้ได้สะดวก และเรียนรู้ได้ไม่ยาก เจ้าของสามารถทำให้สัตว์เลี้ยงได้เอง  ลองมาดูกันครับว่ามีผลิตภัณฑ์พ่นยี่ห้อใดบ้างครับ
        
ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดแบบพ่นที่มีสารไฟโปรนิลเป็นสารออกฤทธิ์  ในบ้านเรามียี่ห้อเดียวนะครับ ชื่อผลิตภัณฑ์คือ ฟร้อนท์ไลน์ สารไฟโปรนิลนีถือว่าเป็นสารฆ่าแมลงที่ได้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งเพราะมันออกฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาทของแมลง โดยยับยั้งสาร GABA  ที่ receptor ในระบบประสาทส่วนกลางของแมลง เมื่อยับยั้งส่วนดังกล่าวทำให้แมลงเกิดอาการเป็นอัมพาต และตายในที่สุด   สำหรับมนุษย์สาร GABA  มีในสมองเท่านั้น ซึ่งไฟโปรนิลไม่สามารถซึมผ่านไปยังสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วนนมได้  อันตรายจากการออกฤทธิ์ยับยั้ง GABA  ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจึงไม่เกิดขึ้น  รูปแบบการใช้  ใช้พ่น เนื่องจากสารไฟโปรนิลเป็นสารที่ละลายได้ดีในไขมัน เพราะเหตุนี้เมื่อเราพ่นลงไปบนผิวหนังสัตว์ตัวสารจะซึมลงไปใต้ผิวหนัง และกระจายไปตามผิวหนังทางไขมัน  จากนั้นค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังที่มีทั่วร่างกายสุนัขและแมว ทำให้สารตัวนี้มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานและยังคงการออกฤทธิ์ได้ แม้ว่าจะผ่านการอาบน้ำมา ซึ่งระยะเวลาที่ออกฤทธิ์นาน 30 วัน ขั้นตอนการใช้   พ่นลงบนตัวสัตว์และพ่นให้สัมผัสกับผิวหนัง  โดยต้องเปิดขนชองสัตว์ขึ้นขณะพ่นเพื่อที่ตัวสารเคมีจะได้สัมผัสลงบนผิวหนัง  จากนั้นให้ลูบย้อนขน  ในการใช้จำเป็นต้องทราบน้ำหนักตัวสัตว์ก่อนครับเพื่อจะได้ทราบว่าต้องพ่นกันกี่ครั้ง   มีสูตรดังนี้ ในกรณีใช้ฟร้อนท์ไลน์ขนาด 100 มิลลิลิตร ให้นำน้ำหนักตัวสัตว์คูณด้วยหก จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนครั้งที่ต้องพ่นออกมา   ถ้าเลือกใช้ฟร้อนท์ไลน์ขนาด 250 มิลลิลิตร ให้นำน้ำหนักตัวสัตว์แล้วคูณด้วยสอง จะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนครั้งออกมาเช่นกัน   
ควรสวมถุงมือก่อนใช้ทุกครั้ง  การพ่นควรพ่นห่างจากตัวสัตว์ประมาณ 1 ฟุต  และก่อนใช้สารตัวนี้ต้องไม่อาบน้ำให้สัตว์นาน 2 วัน และต้องเว้นไม่อาบน้ำให้สัตว์ 2 วันหลังพ่น   หลังจากนั้นจึงสามารถอาบน้ำให้สัตว์ได้    คำเตือน  ควรพ่นในที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรพ่นใกล้เปลวไฟ  และการพ่นบริเวณใบหน้าสัตว์ผู้ใช้ควรพ่นลงบนถุงมือก่อน แล้วจึงลูบย้อนขนให้ทั่วบริเวณใบหน้าและหัว จากนั้นปล่อยให้ตัวสัตว์แห้งเอง   สารไฟโปรนิลชนิดพ่นสามารถใช้ในสัตว์ที่ตั้งท้อง เลี้ยงลูกให้นมลูกได้และใช้ในสัตว์ที่มีอายุได้ตั้งแต่อายุ 2 วันเป็นต้นไป ในสัตว์แก่ก็สามารถใช้พ่นได้เช่นกัน

คูมาฟอส ( Coumaphos)

คูมาฟอส  ( Coumaphos) มีชื่อการค้าว่า อาซุนโทล  เป็นสารฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต มีใช้กันในบ้านเรามานานและมักเป็นสารเคมีตัวแรกๆ ที่เลือกมาใช้  เพราะมีราคาถูกและหาซื้อง่าย กลไกการออกฤทธิ์ในสารกลุ่มออร์แกนโนฟอตเฟส ออกฤทธิ์ทำให้เห็บหมัดเป็นอัมพาตโดยการการยับยั้งสารสื่อประสาทคือ สารอะเซตติลคลอลีนเอสเตอร์เลส ซึ่งอยู่ที่ปลายประสาทของแมลง เมื่อไม่มีสารดังกล่าวจะทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบประสาทต่อเนื่องจนทำแมลงเป็นอัมพาตในที่สุด รูปแบบการใช้ คูมาฟลอสอยู่เป็นผง ผู้ใช้ต้องตักเอาสารฆ่าแมลงดังกล่าวออกมาจากภาชนะบรรจุ ปริมาณที่ใช้คือ สารคูมาฟลอส 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 3 ลิตร ขั้นตอนการใช้  ใช้อาบ จุ่ม หรือ ชโลมในน้ำสุดท้ายของการอาบน้ำให้สุนัข เสร็จแล้วจึงปล่อยให้สุนัขตัวแห้งเอง  ในการใช้สารเคมีกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตเพื่อกำจัดเห็บหมัดมีข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือการผสมต้องผสมให้ได้สัดส่วน เพราะย่อมมีปริมาณที่ปลอดภัยในการใช้ ถ้าผสมในปริมาณมากเกินไปทำให้ร่างกายสุนัขรับสารเคมีเข้าไปมาก โอกาสที่จะเกิดพิษขึ้นย่อมมีมากเช่นกัน  ที่สำคัญอีกประการ คือให้ระวังสัตว์เลี้ยงจะเลียหรือสัมผัสสารเคมีหลังจากที่เราอาบน้ำให้ ข้อนี้ต้องระวังเช่นกัน
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->

คำเตือน 1. ห้ามรับประทาน
          2.
ระวังอย่าให้ เข้าตา จมูก ปาก  และควรสวมถุงมือแบบยาวถึงข้อศอกในการใช้ทุกครั้ง
          3.
หลังจากใช้ให้ล้างมือ และถุงมือให้สะอาด อาบน้ำชำระล้างร่างกาย และถอดเสื้อผ้าไปซักให้สะอาด
          4.
ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก ปาก หรือหูด้านในของสุนัข
          5.
ไม่ควรใช้ในสัตว์ที่มีร่างกายอ่อนแอ สัตว์ตั้งท้อง สัตว์ตัวที่กำลังให้นม และไม่ควรใช้กับลูกสุนัข
          6.
ไม่ทิ้งขวดที่บรรจุหรือตัวสารลงในแหล่งน้ำ คูคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ

เดลตาเมทริน ( Deltametrin )

เดลตาเมทริน ( Deltametrin ) มีชื่อการค้าคือ บูทอกซ์  เป็นสารฆ่าแมลงในกลุ่มไพริทรอยซึ่งได้ทำการพัฒนามาล่าสุด ออกฤทธิ์โดยการที่เห็บหมัดสัมผัส หรือกินเอาสารดังกล่าวเข้าไปแล้วกลไกการออกฤทธิ์จะทำให้แมลงเป็นอัมพาต อย่างเฉียบพลัน เห็บหมัดจะตายไวมาก และจากการพัฒนาสูตรโครงสร้างทางเคมี เดลตาเมทรินมีความสามารถในการทำลายเห็บหมัดได้ดีขึ้นในรายที่ดื้อต่การใช้สารกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต  และสารฆ่าแมลงกลุ่มอะมีดีน  ตัวเดลตาเมทรินเองยังมีความคงตัวนานขึ้น ทำให้สามารถออกฤทธิ์ได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ฆ่าไรขี้เรื้อนเปียกและไรขี้เรื้อนแห้งได้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้จัดการกับปัญหาโรคผิวหนังดังกล่าวด้วยตัวสารเดลตาเมทรินเองได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง
ขั้นตอนการใช้  ก่อนใช้ให้เขย่าขวดให้ทั่วถึงก่อนแล้วจึงผสมเดลตาเมทริน ลงไปในอัตราส่วนที่เราต้องการ กรณีที่ต้องการทำลายเห็บ ให้ใช้เดลตาเมทริน  2 ซีซี. ผสมในน้ำ 1 ลิตรในการใช้ 2 ครั้งแรก ให้ทำซ้ำทุกๆ 15 วัน


         หลังจากนั้นงดการใช้จนกว่าจะมีเห็บมาอีก   ในกรณีกำจัดหมัด ให้ใช้เดลตาเมทริน 1 ซีซี. ผสมในน้ำ 1 ลิตร จะเห็นว่าสัดส่วนในการผสมนั้นเจือจางกว่าการใช้เพื่อฆ่าทำลายเห็บ ในการใช้ 2 ครั้งแรก  ให้ทำซ้ำทุกๆ 15 วัน  และควรงดการใช้จนกว่าจะมีหมัดมาอีก  ผลิตภัณฑ์เดลตาเมทริน หรือบูทอกซ์ บรรจุในขวดมิดชิด และมีฝาขวด เป็นถ้วยตวงใช้วัดปริมาณสารได้เลย และมีมาตรวัดที่ชัดเจน
ขั้นตอนการใช้ ควรผสมสารเดลตาเมทรินให้ได้สัดส่วนตามที่เราจะใช้ประโยชน์ก่อน จากนั้นนำสุนัขมาอาบน้ำ หรือจุ่ม หรือชโลมด้วยน้ำที่ผสมสารเดลตาเมทรินไว้ แล้วปล่อยให้สัตว์ตัวแห้งเอง การเก็บรักษา ต้องปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยงและแหล่งอาหาร
คำเตือน 1. ห้ามรับประทาน
          2.
ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก ปาก เวลาที่ใช้ควรสวมถุงมือถึงข้อศอกทุกครั้ง
          3.
หลังจากใช้ให้ล้างมือ และถุงมือให้สะอาด อาบน้ำชำระล้างร่างกาย และถอดเสื้อผ้าไปซักให้สะอาด
          4.
ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก ปาก หรือหูด้านในของสุนัข
          5.
ไม่ควรใช้ในสัตว์ที่มีร่างกายอ่อนแอ  สัตว์ตั้งท้อง แม่สัตว์ที่ให้นมลูก และลูกสุนัข
          6.
ไม่ทิ้งขวดที่บรรจุหรือตัวสารลงในแหล่งน้ำสาธารณะ

การกำจัดเห็บหมัด

ด้วยการปูพื้นความรู้ให้เข้าใจในเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาเห็บหมัดซึ่งคอยบั่นทอนสุขภาพของสัตว์เลี้ยงและรบกวนจิตใจของเรา จากนั้นจึงอธิบายถึงผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดที่มีจำหน่าย ได้แก่ แชมพู และแป้ง ฉบับนี้มาว่ากันต่อในเรื่องเคล็ดลับของการเลือกใช้อุปกรณ์กำจัดเห็บหมัดชนิดต่างๆ ซึ่งจะหาใช้ได้ในบ้านเรา
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผสมน้ำอาบ หรือจุ่มเพื่อกำจัดเห็บหมัด
ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบดังกล่าวมีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ และมีข้อบ่งใช้ต่างๆ กันไป ควรอ่านฉลากและทำความเข้าใจในข้อระบุการใช้ให้ดี เพราะสารต่างๆ อาจมีข้อบ่งใช้แตกต่างกัน มารู้จักกันทีละตัวครับ
        
 ฟูลเมทริน(Flumetrin) มีชื่อการค้าคือ ไบติคอล  เป็นส่ารฆ่าแมลงที่มีใช้มานาน และได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงสุนัขมาก เพราะหาซื้อง่ายและมีประสิทธิภาพในการฆ่าทำลายเห็บหมัดได้อย่างดี  โดยเฉพาะในรายที่เคยใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต คาร์บาเมท มาก่อน  แล้วเกิดการดื้อยา เห็บไม่ตาย เมื่อมาใช้สารตัวนี้จะสามารถฆ่าทำลายเห็บได้  รูปแบบการใช้ มีหลายแบบหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพ่น อาบ จุ่มบนตัวสัตว์ ปริมาณในการใช้ หากใช้เพื่อกำจัดเห็บหมัด ไร เหา ต้องใช้ในขนาด 30-40 พีพีเอ็ม  จึงไม่สามารถนำสารดังกล่าวมาใช้อาบได้เลย ต้องตวงสารและละลายน้ำเพื่อผสมให้ได้สัดส่วนตามที่กำหนด ปริมาณซึ่งปลอดภัยต่อสัตว์และต่อผู้ใช้ คือ  ฟูลเมทริน 1 ซีซี. ละลายลงไปในน้ำ 1.5 ลิตร จะได้ความเข้มข้นที่ 40 พีพีเอ็มซึ่งเป็นขนาดที่สามารถใช้ฆ่าเห็บ ได้  แต่ถ้าต้องการนำไปฆ่าเพียงหมัด ไร เหา สามารถผสมให้เจือจางลงที่ 1 ซีซี. ต่อน้ำ 2 ลิตร จะมีความเข้มข้นของสารฆ่าแมลงที่ 30 พีพีเอ็ม  ขั้นตอนการใช้  การใช้กับสุนัขนั้นก่อนอื่นควรอาบน้ำโดยใช้แชมพูสำหรับสุนัข จากนั้นเช็ดตัวสุนัขให้แห้งเพื่อลดปริมาณน้ำที่จับตัวที่ผิวหนังสัตว์ เมื่อสุนัขตัวแห้งดีแล้ว อุ้มสุนัขมาจุ่ม หรืออาบ หรือนำฟองน้ำชุบฟูลเมทรินที่ผสมตามสัดส่วนที่กำหนด  จากนั้นเช็ดตัวให้แห้งได้ทันที  ตามเอกสารกำกับการใช้ที่ระบุอยู่ข้างกล่องพบว่าสารตัวนี้สามารถใช้ได้กับแม่สุนัขในขณะตั้องท้องและทุกครั้งที่ใช้สารฆ่าแมลงดังกล่าวผู้ใช้ต้องสวมถุงมือเพื่อป้องกันการปนเปื้อนมายังตัวเรา
การเก็บรักษา ต้องปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยงและแหล่งอาหาร  รวมทั้งไม่ทิ้งภาชนะบรรจุ หรือตัวสารลงในแหล่งน้ำสาธารณะ

มาตรฐานสายพันธุ์ปอม

หู   :  ใบหูค่อนข้างเล็ก เชิดสูงและตั้งตรงเสมอ เมื่อลากเส้นจากปลายจมูกไปยังตรงกลางตา และลากผ่านไปยัง     ปลายหูจะได้เส้นตรง

                หัว  :  สมดุลได้สัดส่วนกับลำตัว การแสดงออกของใบหน้าจะสดใส ร่าเริงคล้ายใบหน้าสุนัขจิ้งจอก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ใบหน้าที่ฉลาดแกมโกงเจ้าเล่ห์ ด้านบนสุดของกะโหลกจะกลมเล็กน้อย แต่ไม่เป็นรูปโดม
                ตา  :  นัยน์ตาเป็นสีดำ แววตาสดใสคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ขนาดปานกลาง ขอบตาเป็นสีดำ
                คอ  :  สั้น หัวแทบจะติดกับไหล่
                อก  :  ลึก ล่ำสัน แต่ไม่กว้างและลึกจนเกินไป
                จมูก  :  จมูกยาวและเล็กตรง มองเห็นชัดเจน ปลายจมูกเชิด จมูกต้องเป็นสีดำ ยกเว้นปอมเมอเรเนียนที่เป็นสีน้ำตาล และสีน้ำเงิน(เทา)
                ฟัน   :  สบกันแบบกรรไกร
                ขา    :   ขาหน้าตรงและขนานกัน ข้อขาตรงและแข็งแรง เท้าได้รูปหุบสนิท ไม่บิดเข้าหรือบิดออก ต้นขามีกล้ามเนื้อปานกลาง ข้อเท้าหลังได้ฉากกับพื้น และขาตรงขนานกับอีกข้าง ขอบเท้าชัดเจน
                ขน   :  ขน ๒ ชั้นและนุ่มหนา
                สี       :  ทุกสี
                หาง    :   หางที่สวยงามจะมีลักษณะเป็นพวงขน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูง หางขนานไปกับหลัง
                ลำตัว   :   ส่วนหลังสั้นได้สัดส่วนกับช่วงขา แนวหลังเป็นเส้นตรง กระดูกซี่โครงเรียงขนานกัน
                ถิ่นกำเนิด  :  เยอรมันและโปแลนด์
                น้ำหนัก   :  ๔ - ๖ ปอนด์
                จัดอยู่ในกลุ่ม  :  ทอย
ขนและสีขน  :  ขน ๒ ชั้น ขนชั้นในนุ่มและแน่น ขนชั้นนอกจะยาวตรงและหยาบกว่า ขนชั้นในจะแน่นตั้งแต่ลำคอ ไหล่ และอก ส่วนขนชั้นนอกบริเวณไหล่ อก มีค่อนข้างมาก  ขนบริเวณศีรษะและขาจะน้อยและสั้นกว่าส่วนอื่น สีขนทุกสี เช่น ดำ และน้ำตาล สีผสมหรือสีทองออกส้ม สีขาวที่มีสีอื่นร่วมบริเวณศีรษะ หรืออีกประเภทคือ OPEN CLASSES จะมีสีแดง สีส้ม สีครีม สีดำ สีเทา สีน้ำตาล สีเทาเป็นต้น
ขนาด  :  น้ำหนัก ๔ -๖ ปอนด์ สุนัขที่มีน้ำหนักมากหรือน้อยกว่าที่ระบุไว้ จะไม่พิจารณาให้เข้าประกวด
การเดินและวิ่ง  :  นุ่มนวล เป็นอิสระ สมดุลและกระฉับกระเฉง
ลักษณะที่ถือว่าบกพร่อง  :  กะโหลกเป็นรูปโดม ฟันยื่น และฟันเหยิน
นิสัย   :   ตื่นตัวอยู่เสมอ เอาใจใส่กับสิ่งภายนอก มีการแสดงออกซึ่งความเฉลียวฉลาด มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น สง่างาม
เหมาะสม  :   สำหรับเลี้ยงเป็นเพื่อน เพราะเขาจะตื่นตัวตลอดเวลา ทำให้ไม่เหงา
ไม่เหมาะสม  :  สำหรับเจ้าของที่เป็นโรคภูมิแพ้ เพราะเป็นสุนัขที่มีการผลัดขนบ่อย
ข้อดีของการเลี้ยง  :  แม้จะขนยาวแต่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขนพันกัน
ข้อเสียของการเลี้ยง  :   เป็นสุนัขที่ชอบเห่า
ช่วงชีวิต  :  ประมาณ ๑๒ – ๑๕ ปี

เพราะเหตุใดปอมเมอเรเนียนจึงเป็นสุนัขสายพันธุ์ยอดฮิต

   ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ดึงดูดใจ น่ารัก และน่าหลงใหล ตามสไตล์ สวย เริด เชิด ขนฟู ๆ ตัวเล็กพองาม เยื้องย่างดั่งนางพญา ดวงตาที่ดูสดใสบ้องแบ้วเหมือนเด็กน้อยบวกกับหน้าตาที่ดูคล้ายตุ๊กตาหมี  ปอมเมอเรเนียนจึงจัดเป็นสุนัขที่มีความสวยงามพันธุ์หนึ่ง นอกจากเรื่องของความสวยงามแล้ว ปอมเมอเรเนียนยังสามารถเป็นเพื่อนที่ดีของมนุษย์อีกด้วย เพราะปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่ค่อนข้างรู้ใจมนุษย์ รู้ว่ามนุษย์มีอารมณ์และความรู้สึกอย่างไร ทำให้ผู้เลี้ยงปอมเมอเรเนียนต่างติดใจในบุคลิกและนิสัยของมัน นอกจากนี้ปอมเมอเรเนียนยังเป็นสุนัขพันธุ์เล็กกินน้อย สามารถปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์ ไม่ต้องการพื้นที่ในการดูแลมาก สามารถอยู่ในสังคมเมืองได้ และด้วยความที่เป็นน้องหมานักเอนเตอร์เทน ปอมเมอเรเนียนจึงเป็นศูนย์กลางที่สามารถทำให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขได้ เพราะนิสัยขี้เล่นของมันนั่นเอง

สุนัขสายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน

หากกล่าวถึงสุนัขสายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เห็นแต่คนรักปอมฯ กันทั้งนั้น เพราะเหตุใดผู้คนต่างก็เทใจให้กับปอมเมอเรเนียน เรามาทำความรู้จักกับตัวตนของน้องปอมฯ และมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

                ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าปอมเมอเรเนียนน่าจะสืบเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์สปิตซ์  มีการพบสุนัขลักษณะเช่นนี้เป็นครั้งแรกในแดนที่มีชื่อว่า Pomerania ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของประเทศเยอรมันและทางตอนเหนือของยุโรป ซึ่งที่นั่นปอมเมอเรเนียนเป็นทั้งสัตว์เลี้ยงและสุนัขใช้งาน ปอมฯรุ่นแรก ๆ จึงมีน้ำหนักตัวถึง ๓๐ ปอนด์เลยทีเดียว
                ต่อมา Charlemagne ผู้ผสมพันธุ์สุนัขใน Pomerania ได้พัฒนาขนและสายพันธุ์สุนัขปอมเมอเรเนียน ให้เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตในเมือง แต่พวกมันก็ยังหนักกว่า ๒๐ ปอนด์อยู่ดีตอนที่มาถึงประเทศอังกฤษ
                ผู้ผสมพันธุ์ชาวอังกฤษได้ลองผิดลองถูก และใช้ทฤษฎีของเมนเดลในการลดขนาดของสุนัขและพัฒนาให้มีหลายสี แต่ยังคงนิสัยอดทนและขนหนาของสุนัขในเขตหนาวเอาไว้
                Queen Charlotte  เป็นผู้แรกที่นำปอมเมอเรเนียนเข้ามาสู่คนชั้นสูงของอังกฤษ  แต่ปอมฯมาได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อสมเด็จพระบรมราชินีนารถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรได้เสด็จกลับมาจากพักร้อนในประเทศอิตาลีพร้อมปอมเมอเรเนียนชื่อ Marco จากนั้นปอมเมอเรเนียนก็กลายเป็นสุนัขในใจของคนทุกชนชั้นจวบจนปัจจุบัน

สุนัข ชิสุ เจ้าหมาสิงโตน้อย

  เพราะภาพลักษณ์หมาน้อยตากลมโต  ผูกโบว์ที่หน้าผาก มีขนยาวสวย ดูสง่างาม ขนาดพอเหมาะ พาไปไหนมาไหนได้ไม่ลำบาก แถมยังนิสัยเป็นมิตร ขี้เล่น และช่างประจบ เลยทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยหลงใหลได้ปลื้มเจ้าสุนัขพันธุ์ "ชิสุ" และเลี้ยงเป็นสมาชิกสี่ขาประจำครอบครัวกันอย่างแพร่หลาย แต่รู้ไหมว่าประวัติความเป็นมาของ สุนัข ชิสุ น่ะ เป็น ถึง 1 ใน 3 สุนัข ชั้นสูงจากจักรพรรดิจีนเชียวนะ
           ทั้งนี้ บรรพบุรุษของ สุนัข ชิสุห์ นั้น มีการคาดเดาว่ามีต้นกำเนิดจากทิเบต เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของชาวทิเบตถือว่าสิงโตเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนา พระชาวทิเบต (Lama) จึงได้ผสม สุนัข พันธุ์เล็กขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิงโต ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าลักษณะขนแผงคอของ ชิสุ จะเหมือนกับสิงโต อีกทั้งท่าทางการเดินหรือการเคลื่อนไหวก็แลดูสง่างาม และชื่อ "ชิสุ" (Shih Tzu) ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน ก็แปลว่า สิงโต ด้วย

           ต่อมาทิเบตได้ส่ง สุนัข ชิสุ มาเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายของจีน  ซึ่งพระนางซูสีไทเฮา ทรงโปรดการเลี้ยง สุนัข มาก โดยมี สุนัข พันธุ์ปักกิ่ง ปั๊ก และชิสุ ที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากพระองค์ ชนิดหรูหราและฟุ่มเฟือย ในอดีตจึงเป็นที่รู้กันดีว่า ชิสุ เป็น สุนัข ที่มีชนชั้น  นิยมเลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนักของและนับเป็นสิ่งสูงค่าสำหรับสามัญชน 
           ในปี ค.ศ.1908  เมื่อพระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ สุนัข ชิสุ ทรงเลี้ยงในพระราชวังก็กระจัดกระจายหายไป แต่ก็มี ชิสุ บางส่วนที่ถูกลักลอบนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ ทำให้ ชิสุ ขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษ และทั่วยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันถึงปัจจุบัน  เนื่องจาก ชิสุ เป็น สุนัข พันธุ์เล็ก อีกทั้งมีของลักษณะขนและหน้าตา ที่จะสร้างความเพลิดเพลินในการเลี้ยงดูของเจ้าของที่ชอบแต่งตัวให้ สุนัข แต่คงไม่เหมาะนักสำหรับเจ้าของที่ไม่มีเวลา

 ลักษณะทั่วไปของ สุนัข ชิสุ
           ชิสุ เป็น สุนัข ขนาดเล็กในกลุ่มทอย (Toy Group) มีน้ำหนักประมาณ 4.5 - 7.5 กิโลกรัม (หรือราว 10 - 16 ปอนด์) ส่วนสูงประมาณ 25 - 27 ซม. (หรือราว 10 - 11 นิ้ว) ทั้งนี้ ชิสุ มีลักษณะนิสัย กล้าหาญ มีความตื่นตัว ขี้ประจบ มีความสง่าอยู่ในตัว เดินหน้าเชิด การย่างก้าวสง่าผ่าเผย นอกจากนี้ ชิสุ ยังรักความสะอาด เป็นมิตรกับทุกคน ปรับตัวได้ดี และชอบที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าของในทุกเรื่อง แล้วก็ไม่ชอบถูกทิ้งไว้ในบ้าน

           ข้อบกพร่องของสายพันธุ์ ชิสุ
           ข้อบกพร่องของ ชิสุห์ ที่จัดว่าร้ายแรงตามมาตรฐานของ AKC : American Kennel Club (สมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา) ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีดังนี้

            - ศีรษะแคบเกินไป
            - ฟันบนเกยฟันล่าง
            - ขนสั้น หรือขนที่ได้รับการขลิบให้สั้น
            - จมูกหรือหนังบริเวณขอบตาสีชมพู
            - ดวงตามีขนาดเล็กหรือมีสีจาง
            - ขนบาง ไม่ดกหนา
            - มุมหักตรงช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูกและหน้าไม่เด่นชัด

 อาหารและการเลี้ยงดู สุนัข ชิสุ

           ชิสุห์ มีอายุค่อนข้างยืนยาว คือประมาณ 10-18 ปี ตามแต่ปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร และการเลี้ยงดู โรคที่มักเกิดขึ้นกับ ชิสุ คือโรคตาแห้ง โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ โดยเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาและหูของ ชิสุ อย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของมันโดยเฉพาะ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับ ชิสุ ได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต และไส้เลื่อน

           ปกติ ชิสุห์ จะเป็นมิตรกับคน นิ่งและดูสงบ ดูจะเป็น สุนัข อารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่า ชิสุ จะไม่เชื่อฟังเราถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง อย่างไรก็ตาม ชิสุ ก็ชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออก ไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง

           นอกจากนี้ ขนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความสวยงามของ ชิสุ โดยเฉพาะ ชิสุห์ เป็น สุนัข ขนยาว ที่จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีขนเส้นเล็กและพันกันได้ง่าย หากไม่รู้จักวิธีการรักษาขนให้ดี ขนของ ชิสุ จะพันกันและมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังได้ง่ายๆ 
           ทั้งนี้ การแปรงขนอย่างสม่ำเสมอทุกวันจะช่วยให้ผิวหนังและขนสะอาดของ ชิสุ เป็นเงางาม เพราะมีการนวดให้ต่อมน้ำมันที่โคนขนขับน้ำมันออกมาเคลือบเส้นผมได้มากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพสมบูรณ์ และยังเป็นการช่วยขจัดรังแคและสิ่งสกปรกอื่นออกจากผิวหนังของ ชิสุ ด้วย

           อาหารที่เหมาะกับเจ้า ชิสุ สุดสวย ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะ สุนัข มีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะหนวดเครา เหม็นคาว ทำให้ต้องทำความสะอาดกันทุกครั้งไป และหากล้างออกไม่หมดก็จะกลายเป็นที่สะสมของเชื้อโรค อีกทั้งถ้าให้อาหารกระป๋องต้องใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อสุขภาพของ  ชิสุ ของคุณได้
           ดังนั้น ทางเลือกที่เหมาะที่สุดเห็นจะเป็นอาหารเม็ด ทั้งนี้ การเลือกซื้อควรเลือกประเภทสำหรับ สุนัข พันธุ์เล็ก  โดยเลือกดูให้เหมาะกับช่วงวัยของ ชิสุ ด้วย เช่น ถ้าเป็นอาหารลูก สุนัข ข้างถุงจะพิมพ์ไว้ว่า Puppy มีโปรตีนมากกว่า เม็ดจะเล็กกว่า และจะแพงกว่าอาหาร สุนัข โตนิดหน่อย

           อย่างไรก็ตาม อาหารปรุงเองก็สามารถให้ ชิสุ ได้ แต่ควรดูความเหมาะสมของสารอาหารที่ให้ และการสร้างอุปนิสัยที่ดี  เพราะหากให้กินพร่ำเพรื่อ สุดท้ายเจ้า ชิสุ ตัวโปรดของคุณก็จะติดนิสัยขออาหารที่ครั้งที่เห็นคนกิน ดังนั้นต้องใจแข็งไว้นะคะ ควรให้อาหารเป็นเวลาจะดีกว่า แล้ว ชิสุห์ ของคุณไม่มีปัญาหาสุขภาพตามมาด้วย

 โรคและวิธีการป้องกัน

            โรคตาแห้ง เป็นโรคที่มักเกิดกับ สุนัข ชิสุห์ เพราะมีดวงตากลมโต ลูกตาเปิดกว้าง ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุกับดวงตาด้วย ทั้งนี้ อาการของโรคตาแห้ง คือน้ำตาน้อย ก็ต้องรักษาด้วยการหยอดตาต่อเนื่อง อาจจะนานๆ ครั้ง หรือไม่ก็ตลอดชีวิต สำหรับการดูแลรักษา อย่างแรกเลยผู้เลี้ยง ควรเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะ และเมื่อเห็นความผิดปกติของลูกตาให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะ ถ้าทิ้งไว้นาน อาจทำให้ติดเชื้อ แก้วตาละลาย ถึงขั้นตาบอดได้ อีกอย่างถ้าพามาตั้งแต่แรกเริ่มก็จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่สูงมากนัก

           โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอกที่เรียกว่า "otitis externa" เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการของ สุนัข ชิสุ ที่ป่วยหูอักเสบ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็น ชอบเกาหู หรือเอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ ช่องหู หรือใบหูมีสีแดง หรือบวม ในบางตัวอาจมีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู ฯลฯ

           สำหรับวิธีการป้องการที่ดีที่สุด คือการรักษาความสะอาด ควรตรวจสอบช่องหูของ สุนัข ชิสุห์ ทุกสัปดาห์ สุนัข บางตัวมีขี้หูน้อย บางตัวก็มีมาก แตกต่างกันไป ควรใช้สำลีหรือผ้านิ่มๆ เช็ดบริเวณรูหูส่วนนอก และใบหูเป็นประจำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ถ้าพบว่า สุนัข ของคุณสะบัดหู หรือเกาหูบ่อย ก็ให้นำไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจมีแมลงเข้าหูหรืออาจเกิดโรคหูอักเสบขึ้น

           นอกจากนี้ ชิสุห์ ยังมีโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคผิวหนัง และไส้เลื่อน ทางที่ดีผู้เลี้ยงควรฉีดวัคซีนให้ สุนัข ตามกำหนดให้ครบ และใส่ใจเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย และหากผิดความผิดปกติใดๆ ก็ตามควรรีบพา สุนัข แสนรักไปพบแพทย์เพื่อได้รรับการวินัจฉัยและการรักษาที่ตรงจุดต่อไป

มาตรฐานสายพันธ์สุนัข SHIHTZU ( ชิห์สุ )


ชิห์สุ เป็นสุนัขที่มีรูปร่างแข็งแรง มั่นคง มีชีวิตชีวา ตื่นตัวอยู่เสมอ ชิห์สุมีความสง่างาม องอาจ ทรนง ด้วยส่วนหัวและลำคอที่เชิดสูง หางตั้ง งอปรกลงเหนือแผ่นหลัง กระชับ สมส่วน มีความสมดุลย์ในร่างกายที่มั่นคงลงตัว ความสูงจากพื้นถึงไหล่ ระหว่าง 9 - 10.5 นิ้ว แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว หรือสูงเกิน 11 นิ้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่อยู่ระหว่าง 9 - 16 ปอนด์ ความยาวของลำตัวจะมากกว่าความสูงเล็กน้อย กลม, มีความกว้างระหว่างตาทั้งสองข้าง ขนาดของหัวเหมาะสมกับลำตัวโดยรวม ไม่เล็กเกินไป ข้อบกพร่อง คือส่วนหัวที่เล็กแหลม ตาทั้งสองข้างชิดกันเกินไป มีขนาดกลม ใหญ่ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มองตรงไปข้างหน้า ดวงตาจะต้องรู้สึก อบอุ่น เป็นมิตร อ่อนโยน และแลดูสัตย์ซื่อ สีของดวงตา จะต้องดำสนิท ยกเว้น สีตับ ในสุนัขที่มีขนสีตับ และ สีอ่อน ในสุนัขที่มีสีอ่อน ข้อบกพร่องของดวงตาคือ ตาเล็ก ชิดกันเกินไป หรือมีตาขาวมากมองเห็นได้ชัด มีขนาดใหญ่ ห้อยปรกลง มีขนแน่น ยาว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม สั้น ไม่มีรอยยับย่น ตั้งอยู่ไม่ต่ำกว่าขอบตาด้านล่าง ความยาวประมาณ 1 นิ้ว ไม่มากกว่านั้น รูจมูกกว้าง ไม่มีน้ำมูกเหนียวเกรอะกรัง จมูก ริมฝีปาก และขอบตา ต้องมีสีดำสนิท ยกเว้น สีตับ ในสุนัขที่มีสีตับ ข้อบกพร่องร้ายแรงคือ มีสีด่างขาวที่จมูก ฟันล่าง ขบฟันบนเล็กน้อย ฟันขบเสมอกัน ยอมรับได้ เวลาหุบปากต้องไม่เห็นฟัน ข้อบกพร่องร้างแรงคือ ฟันบนขบยาวกว่าฟันล่าง (over shot )คอ
อก

หาง
ขน
สี
หลัง ไหล่ สมดุลย์กับหัวและร่างกาย เส้นหลังตรง ไหล่ตั้งตรง เดินสมดุลย์ ข้อบกพร่องคือ มองโดยรวมแล้ว ขายาวเกินไป กว้าง ลึก มีความยืดหยุ่นของช่องอก ไม่มีลักษณะอกแหลม ตั้ง ปลายห้อยปรกลงบนลำตัว มีขนแน่น หางที่มีขนบาง เรียวผอม ตั้งอยู่บนตำแหน่งที่ต่ำเกินไป ไม่เป็นที่ยอมรับ ยาว สลวย เป็นเงา ขนหนาแน่นมีสองชั้น ขนหยักศกเล็กน้อยเป็นที่ยอมรับได้ ข้อบกพร่อง ขนบาง ขนชั้นเดียว ขนหยิก ได้ทุกสีมาร์คกิ้ง
ท่วงท่า
อารมณ์
บริเวณตา มีความสมดุลย์ เดินตรง เป็นจังหวะ สง่างาม หัวเชิด หางตั้ง ห้อยปรกแผ่นหลัง ร่าเริงมีความสุข กระตือรือล้น อยากรูอยากเห็น เป็นมิตร
คอ
ขนาด
หัว
ตา
หู
จมูก
ฟัน

วิธีการเลี้ยงดูสุนัขพันธุ์ ชิสุห์

หมาท้อง
อาหารที่เลี้ยงหมาที่กำลังตั้งท้องนั้นจะต้องมีคุณภาพสูง โปรตีนมาก ไขมันน้อย ขนาดและปริมาณที่ให้ในระยะ 6 อาทิตย์แรกของการตั้งท้องพอ ๆ กับใช้เลี้ยงดูหมาใหญ่ หรือหมาโตเต็มวัย ในประจำวัน แต่เราจะเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นตามน้ำหนักตัวหมาในระยะ 3 อาทิตย์สุดท้ายก่อนคลอดคือ เพิ่มอาหารให้ปริมาณ 15-20 % ของน้ำหนักตัวแม่หมา
ก่อนคลอด 1 – 2 วัน แม่หมาบางตัวมักไม่ค่อยกินอาหารหรือไม่กินเลย เพราะมัวแต่หาสถานที่คลอดลูก โดยเฉพาะแม่หมาสาวท้องแรก ฉะนั้นอย่าตกใจจนเกินไป หลังคลอดแล้วก็จะกินอาหารเอง ข้อพึงระวัง อย่าขุนมหาจนอ้วนเกินไปจนไม่มีแรงในการเบ่งคลอดลูก
หมาแม่ลูกอ่อน
อาหารที่ใช้เลี้ยงหมาแม่ลูกอ่อนไม่ได้มีให้เฉพาะแม่หมาเท่านั้น มันต้องถ่ายทอดไปยังลูกหมาด้วย โดยการเปลี่ยนเป็นนม ฉะนั้นปริมาณอาหารที่แม่หมาจะกินต้องเพิ่มขึ้นโดยอาทิตย์แรกเพิ่มเท่าครึ่ง จากปกติ อาทิตย์ที่ 2 เป็น 2เท่า และอาทิตย์ที่ 3 เป็น 3 เท่า
สิ่งที่ต้องเสริมเพิ่มเติมแก่แม่หมาได้แก่ แร่ธาตุ คือ แคลเซียม และฟอสฟอรัส เพราะสิ่งเหล่านี้จะถูกแตกออกไปนมแม่สู่ลูก ๆ ของมันในขณะเดียวกัน แม่หมาจึงมีปริมาณแคลเซียมที่ลดลงด้วย จนถึงระดับที่เกิดขาดแร่ธาตุที่เราเรียกว่า ภาวะแคลเซียมต่ำ แม่หมาแสดงอาการชัก เกร็ง น้ำลายไหลยืด ตัวร้อนจัด ฝรั่งเรียกว่า Milk Fever หรือไข้น้ำนม เมื่อเจ้าของพาไปหาหมอ หมอจึงฉีดแคลเซียมให้ อาการจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้โดยการเพิ่มเติมแคลเซียมลงไปในอาหารแม่ลูก อ่อนตามคำแนะนำของหมอ พร้อมกับให้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ คือ นม ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ดี
การเลี้ยงดูสุนัขขณะที่เป็นลูกสุนัข
ลูกหมาไทยที่จะนำมาเลี้ยงนั้นควรมีอายุ 2 เดือน หรือหย่านมแล้ว หรือถ้าโตกว่านี้ก็จะยิ่งเลี้ยงง่ายขึ้น เมื่อนำสุนัขเข้ามาอยู่ที่แห่งใหม่วันแรก ถ้าบ้านเลี้ยงสุนัขอยู่แล้วก็ควรให้สุนัขได้รู้จักกับสุนัขที่มีอยู่เดิมและ ให้สุนัขรู้จักสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากที่เดิม เพื่อให้คุ้นเคยกับที่อยู่ใหม่ เพราะนิสัยสุนัขจะอยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาก จึงควรปล่อยให้สุนัขเดินสำรวจสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ตามลำพัง จะทำให้มันรู้สึกว่า สถานที่ใหม่เป็นสถานที่ที่อบอุ่นปลอดภัย ไม่น่ากลัวใด ๆ แต่สำหรับลุกสุนัขเล็ก ๆ บางตัวเมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ จะมีปัญหาบ้าง เช่นมันจะหอนเพราะคิดถึงแม่และพี่น้องที่เคยเล่นกันมา เมื่อหิวก็หอน อาจทำให้รำคาญ เพราะหนวกหู วิธีการแก้ปัญหาลูกสุนัขหอน อาจนำสิ่งของที่ปูนอนในรังเก่าของลูกสุนัขมารองให้นอนในที่อยู่ใหม่ด้วย เพราะลูกสุนัขจะจำกลิ่นได้ และเข้าใจว่ายังอยู่ที่เดิม หรืออาจเลี้ยงสุนัข 2 ตัวอยู่ด้วยกัน เมื่อมีเพื่อนเล่นมันจะไม่เหงาและไม่ค่อยหอน
โดยทั่วไปลูกสุนัขตอนเล็ก ๆ นิสัยเหมือนเด็ก จะชอบนอน ตื่นขึ้นมารู้สึก หิวก็ร้อง อิ่มก็นอน แล้วก็เล่น เมื่อโตขึ้นก็จะนอนน้อยลง ชอบตื่นขึ้นมากินและเล่นมากขึ้น จากนั้นก็จะคุ้นเคยกับความเป็นอยู่และสถานที่ใหม่
ลูกสุนัขเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน ก็เริ่มถ่ายขนขนจะหยาบกว่าเดิม ฟันน้ำนมก็จะเปลี่ยนเป็นฟันแท้ มีเขี้ยวขึ้นทั้ง 4 เขี้ยว ทำให้คันปาก จึงชอบแทะสิ่งต่าง ๆ ในบ้าน ถ้าสุนัขกัดสิ่งของในบ้านควรทำโทษเพื่อให้เข็ดหลาบไม่ติดเป็นนิสัยควรหาของ เล่น เช่น ลูกบอลเล็ก ๆ กัดแทะแทน ลุกสุนัขอายุ 4-6 เดือนจะชอบเล่นแทะ และซุกวนมาก กินอาหารเก่งอยากรู้อยากเห็นพออายุ 7-8 เดือน ก็จะเริ่มเข้าสู่วันหนุ่มสาว ถ้าเป็นตัวเมียก็จะเริ่มเป็นสัด ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าให้ผสมพันธุ์กันในวัยนี้ อาจทำให้มันเสีย ถ้าจะให้ผสมพันธุ์ควรผลสมเมื่อมีอายุประมาณ 12-18 เดือนจะเหมาะสมมากกว่า
หมาโต
ในวัยนี้เราสามารถให้อาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดได้แล้วซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่นิยมมี 2 แบบ คือ
อาหารแห้ง ส่วนใหญ่จะมีความชื้นต่ำมากคือ ไม่เกิน 10 % มักอัดอยู่ในรูปเม็ดทรงต่าง ๆ กัน ทำมาจากวัตถุดิบ คือ เนื้อวัว ม้า ไก่ หรือปลาป่น ฯลฯ บรรจุกล่องกระดาษ
อาหารเปียก มีความชื้นสูงประมาณ 65-70 % ทำมาจากเนื้อวัว เนื้อม้า และเนื้อปลา ยังคงมีรูปร่างเป็นก้อนเนื้อให้เห็น บรรจุกระป๋อง จะน่ากินกว่าแบบแห้ง
ทั้งสอแบบสามารถเทใส่ภาชนะให้สุนัขกินได้ทันที แต่หมาจะกินหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่งเพราะหมาบางตัวไม่ยอมรับอาหารเหล่านี้ จะเป็นเพราะกลิ่นหรือรสหรือความแข็งกระด้างก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดให้กินก่อน โดยการหลอกล่อด้วยเล่ห์กล กล่าวคืออาจผสมอาหารสำเร็จรูปจำนวนเล็กน้อยลงในอาหารสำเร็จขึ้นไปทีละน้อย ทำบ่อย ๆ จนในที่สุดหมาตัวนั้น สามารถกินอาหารสำเร็จรูปล้วน ๆ ผู้เลี้ยงบางคนอาจว่าวิธีนี้ไม่ทันใจ ใช้วิธีเผด็จการ กินก็กิน ไม่กินก็อด จะอดได้ไม่นาน สุดท้ายก็ยอมกิน แต่ควรระวังจะเจอตัวที่ยอมอดเป็นอดตายเข้าจริง ๆ
หมาสูงอายุ
หมาสูงอายุจะมีร่างกายที่เริ่มเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้นการให้อาหารจึงควรที่จะให้ตามความเหมาะสมของวัยของสุนัข ซึ่งควรมีลักษณะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่นเนื้อที่ไม่มีพังพืด อาหารที่มีไขมันน้อย อาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อที่จะได้ไปเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ ปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรมากเกินไปเนื่องจาก หมาวัยนี้จะไม่กระฉับกระเฉง การวิ่งออกกำลังกายก็น้อยลงตามอายุ ฉะนั้นอาหารที่กินเข้าไปมาก ๆ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังก่อให้เกิดโทษ เช่น ท้องอืด แน่นเฟ้อ

อนึ่ง หมาที่แก่มาก ๆ อัตราการกินอาหารย่อมต่ำลงเป็นธรรมดา บางครั้งอาจกินวันละเพียงเล็กน้อย หรือกินบ้างไม่กินบ้างเจ้าของอาจให้อาหารเสริมเช่น อาหารสำเร็จรูป น้ำซุปและวิตามินต่าง ๆ เป็นการช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและความแข็งแรงของร่างกายอีกทางหนึ่ง